วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ บล็อกเกอร์ สาระน่ารู้ นางสาว สุภาพร เมืองกลาง

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบปฏิบัติการ


  ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยทั่วไปเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะมีระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ซับซ้อนและทำงานได้มากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ยังมีโปรแกรมเสริมการทำงานหากมีอุปกรณ์มากกว่ามาตรฐานหรือต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงานที่ยากและซับซ้อนกว่ามาตรฐานที่จำหน่าย โดยอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
         ระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, Notebook, Tablet, Smartphone ก็มี Linux, MICROSOFT Windows, APPLE Mac OS X, APPLE iOS, GOOGLE Android, และ NOKIA Symbian เป็นต้น
         ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บนเครื่องขนาดกลางและขนาดใหญ่ก็มีวินโดวส์ ลินุกซ์ ยูนิกซ์ และระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรม เป็นต้น
         มักจะมีคำถามว่าถ้าเราจะซื้อเครื่องโน๊ตบุ๊คใหม่ควรใช้ระบบปฏิบัติการอะไรดีระหว่าง Windows Vista, Windows 7, Windows 2008, Windows8, Mac OS X หรือ Linux ค่ายไหนดี และจะใช้แบบพื้นฐานที่มีให้มาพร้อมเครื่องหรือต้อง Upgrade เป็นระดับ Premium ดี ซึ่งต้องจ่ายเพิ่มอีก เป็นต้น เราจะได้คำตอบมากมายไม่เหมือนกัน ปกติเราต้องสำรวจตัวเราเองก่อนว่าเราจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำอะไรบ้าง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ใช้งานอินเตอร์เน็ต รับส่งอีเมล์ ตัดต่อภาพถ่ายหรือวีดีโอ เล่นเกม ใช้โปรแกรมสเปรตชีต เขียนโปรแกรมใช้งาน ใช้ฐานข้อมูล สำรองข้อมูล ทดสอบโปรแกรมก่อนนำไปใช้งาน ถูกโจมตีโดยไวรัสได้ง่ายหรือไม่ ประสิทธิภาพสูงไหม น้ำหนักและขนาดของเครื่องสำคัญไหม เท่มั๊ย อินเทรนด์รึเปล่า เป็นต้น เมื่อได้วัตถุประสงค์แล้วก็เปรียบเทียบยี่ห้อ รุ่น ราคา การรับประกัน การบริการหลังการขาย และปรึกษาผู้รู้ เพื่อนฝูง ค้นหาในอินเตอร์เน็ต หรือพนักงานขาย สุดท้ายเราก็จะเลือกระบบปฏิบัติการและเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ได้ตรงตามความต้องการ

ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)

         ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ถูกสร้างด้วยภาษาซี (C Language) ยูนิกซ์มีใช้แพร่หลายบนเครื่องขนาดกลางถึงระดับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบ RISC เช่น ORACLE SPARC, ORACLE UltraSPARC, IBM Power, HP PA-RISC และ INTEL Itanium เป็นต้นตัวอย่างระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เช่น ORACLE Solaris, IBM AIX และ HP-UX เป็นต้น
         เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์มีใช้ในองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่เป็นส่วนมาก มักใช้จัดเก็บและจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากและระบบโปรแกรมประยุกต์ที่มีจำนวนโปรแกรมมากและซับซ้อนซึ่งต้องใช้ทรัพยากรมากถึงมากมหาศาล เช่น ต้องใช้ดิสก์จำนวนมาก หน่วยความจำก็มาก จำนวนหน่วยประมวลผลก็เยอะ จำนวนผู้ใช้งานในระบบก็บานเบอะกระจายอยู่ทั่วจังหวัดหรือทั่วประเทศหรือทั่วโลก
         ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์มีไม่กี่ยี่ห้อแต่มูลค่าตลาดรวมกันมากมายมหาศาล เช่น ORACLE Database, IBM DB2, IBM Informix และ SAP Sybase เป็นต้น ส่วน MICROSOFT SQL Server ไม่มีใช้บนยูนิกซ์
         สำหรับท่านที่มีบุตรหลานหรือน้องนุ่งที่กำลังเรียนและอยากให้เขาเหล่านั้นมีอนาคตการทำงานด้านไอทีที่สดใส หางานง่าย รายได้งาม ความต้องการเยอะ ผมขอแนะนำให้ศึกษาและเตรียมพร้อมอย่างน้อย 3 อย่าง คือ 1. UNIX or LINUX 2.ORACLE Database or IBM DB2 3. Java Technology (Java Programming เป็นอย่างน้อย)

ตัวอย่างหลักสูตรยูนิกซ์มาตรฐานเรียงตามลำดับ

         ORACLE Solaris: Solaris Essentials (5 days)  Solaris Intermediate System Administration (5 days) Solaris Advanced System Administration (5 days)  Solaris System Performance Management
         IBM AIX: AIX Fundamentals (5 days)  AIX System Administration (5 days)  AIX Advanced System Administration (5 days)
         HP-UX: UNIX Fundamentals (5 days)  HP-UX System Administration (5 days)  HP-UX Advanced System Administration (5 days)
         หลักสูตรยูนิกซ์อื่นๆ เช่น Shell Programming (4-5 days), TCP/IP Network Administration และ UNIX Clustering เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (LINUX)

         ระบบปฏิบัติการลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการเปิด เริ่มต้นพัฒนาโดย Linus Torvalds เพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊ค มีการทำงานเหมือนกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ จึงทำให้คนที่ใช้งานยูนิกซ์บนเครื่องขนาดกลางหรือใหญ่ชื่นชอบมากเพราะสามารถพัฒนาและทดสอบระบบโปรแกรมประยุกต์บนลินุกซ์ซึ่งอยู่บนเครื่องขนาดเล็กราคาไม่แพงได้สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายมากก่อนที่จะนำไปทดสอบและใช้งานจริงบนเครื่องขนาดใหญ่ที่ใช้ยูนิกซ์
         เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการเปิดจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใช้งานมากราคาไม่แพง ไวรัสก็ไม่ค่อยมี แต่อาจจะมีการถูกโจมตีในรูปแบบอื่นๆ เช่น Trojan, Worms และ Hacker เป็นต้น
         ปัจจุบันมีผู้ให้บริการสนับสนุนทั้งแบบให้ใช้งานฟรีและเก็บค่าบริการหลังการขาย ฉนั้นต้องเลือกใช้ให้เหมาะและตรงวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เช่น ของฟรีเหมาะกับการใช้เรียนรู้อบรมระบบปฏิบัติการลินุกซ์หรือยูนิกซ์และระบบจัดการฐานข้อมูลที่ซับซ้อน เช่น ORACLE Database และ IBM DB2 วิจัยพัฒนาทดลองและทดสอบระบบโปรแกรมมประยุกต์ก่อนจะนำไปใช้งานจริงบนเครื่องยูนิกซ์ที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น สำหรับท่านที่ต้องการนำลินุกซ์ไปใช้งานจริงกับระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูงและหากระบบหยุดทำงานแล้วจะทำให้ธุรกิจเสียหายมากนั้นขอแนะนำให้ใช้บริการการสนับสนุนจากผู้ผลิตโดยตรงซึ่งท่านต้องจ่ายค่าบริการสนับสนุนและท่านต้องส่งเสริมบุคคลากรที่ดูแลให้มีความรู้ความสามารถที่จะดูแลได้ดีด้วย ผลิตภัณฑ์ที่อาจต้องจ่ายค่าบริการ เช่น RedHat Linux และ SUSE Linux Enterprise พัฒนาโดย The Attachmate Group ส่วนที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ เช่น CentOS, ORACLE Linux, OpenSUSE Linux และ Ubuntu(พัฒนาโดย Ubuntu Foundation โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Canonical Ltd.) เป็นต้น ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีใช้บนลินุกซ์ เช่น ORACLE Database, IBM DB2, IBM Informix และ ORACLE MySQL เป็นต้น ส่วน MICROSOFT SQL Server ไม่มีใช้บนลินุกซ์

ตัวอย่างหลักสูตรลินุกซ์มาตรฐานเรียงตามลำดับ

         RedHat Linux: RedHat Linux Essentials (4 days)  RedHat System Administration I (5 days)  RedHat System Administration II (4 days)  Red Hat System Administration III (4 days)
         Oracle Enterprise Linux: Oracle Linux Fundamentals (4 days)  Oracle Linux System Administration (5 days)  Oracle Linux Advanced System Administration (4 days)

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Microsoft Windows)

         ระบบปฏิบัติการวินโดวส์พัฒนาโดย Microsoft Corporation เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โน๊ตบุ๊ค และอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smartphone) มีหลายเวอร์ชั่นและวัตถุประสงค์ในการใช้งานไม่เหมือนกัน เช่น Windows 7, Windows 2008, Windows 8 (ตุลาคม 2555) และอื่นๆ มีทั้งแบบใช้งานคนเดียว ใช้งานในองค์กรใช้งานเบื้องต้น ใช้งานที่ซับซ้อนกับอุปกรณ์ที่หลากหลายในเครือข่าย เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ APPLE Mac OS X

         ระบบปฏิบัติการ Mac OS X พัฒนาโดย APPLE Inc. เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ APPLE Mac ได้แก่ MacBook Air, MacBook Pro, Mac mini, iMac และ Mac Pro เป็นต้น
         เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของ APPLE Inc. ได้รับการยกย่องว่ามีความสวยงามแบบเรียบหรู ประสิทธิภาพสูง อีกทั้งโปรแกรมประยุกต์ก็สวยงามน่าใช้

ระบบปฏิบัติการ Apple iOS

         ระบบปฏิบัติการ iOSพัฒนาโดย APPLE Inc. เพื่อใช้กับอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smartphone) ของ APPLE Inc. เช่น iPhone, iPadและ iPod เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ GOOGLE Android

         ระบบปฏิบัติการ Android เป็นระบบปฏิบัติการเปิดที่พัฒนาโดย GOOGLEด้วยเทคโนโลยีที่ GOOGLEอ้างว่าทำงานเหมือนแต่ไม่ใช่ ORACLE Java Technology โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้กับอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smartphone) เนื่องจาก Android เป็นระบบปฏิบัติการเปิดจึงทำให้มีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ขึ้นมามากมายบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกมากและราคาไม่แพง

ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine)

         ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine or Guest Machine) เป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการอื่นบนเครื่องเดียวกัน โดยมีซอฟท์แวร์บางอย่างทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานระหว่างระบบปฏิบัติการจริง (Host Machine) กับระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Guest Machine) เช่น ระบบปฏิบัติการจริงเป็น MS Windows7 ติดตั้งโปรแกรมควบคุมและประสานงานชื่อ ORACLE VirtualBoxจากนั้นเรียกโปรแกรม ORACLE VirtualBoxแล้วติดตั้งระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ORACLE Solaris 10 ไว้บน MS Windows7 เป็นต้นทำให้เราสามารถใช้ระบบปฏิบัติการ Window 7 และระบบปฏิบัติการ ORACLE Solaris 10 ได้พร้อมกันบนเครื่องเดียวกัน ปัจจุบันสามารถใช้งาน ORACLE VirtualBoxได้ฟรีโดยดาวน์โหลดได้ที่ http://www.oracle.com
         ข้อดีของการใช้ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนก็คือเราไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์จริงหลายเครื่องเพื่อใช้งานระบบปฏิบัติการที่ต่างยี่ห้อหรือต่างเวอร์ชั่นกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เหมาะสำหรับการเรียนรู้ระบบปฏิบัติการใหม่หรือเวอร์ชั่นใหม่ ใช้พัฒนาและทดสอบการทำงานของโปรแกรมที่ต้องนำไปใช้กับระบบปฏิบัติการที่ต่างกัน หรือจะใช้ทำงานจริงก็ได้ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

ซอฟต์แวร์ (Software)

http://software.thaiware.com/

ประโยชน์ของฮาร์ดดิสแบบพกพา (External Harddisk)


"ขอเกริ่นนิดนึงครับสำหรับผู้ที่ไม่รู้จักเจ้าอุปกรณ์ฮาร์ดดิสแบบพกพา ให้ลองนึกภาพUSB แฟลขไดร์ชขึ้นมาครับ การใช้งานนั้นเหมือนกันเป๊ะเลย เพียงแต่ว่าจะมีขนาดใหญ่กว่า แต่ก็ไม่ได้หนักหนาอะไร ขนาดใหญ่กว่าโทรศัพท์นิดนึงครับ แล้วการใช้งานก็ไม่ยุ่งยากสำหรับมือใหม่ ไม่ต้องงน่ะครับ มันก็คือแฟลชไดร์ฟที่มีความจุมากขึ้นและขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง และประโยชน์ของมันก็สุดๆครับ"



มาพูดถึงเรื่อง..ประโยชน์และการใช้งานExternal Harddisk

ปัจจุบันนอกจากการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้นได้มีการพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยขึ้นสะดวกต่อการใช้งานให้มากที่สุดด้วยเห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คงจะเป็นเรื่องของอุปกร์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์ Router ,เม้าส์ ,คีย์บอร์ด ,ลำโพง ,กล้องเว็บแคม หรือแม้กระทั่งอะไหล่คอมพิวเตอร์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยความสะดวกสบายและความรวดเร็วต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
External Harddisk ก็เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน เพราะการทำงานของคอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้เลยสำหรับตัวHarddisk เพราะต้องทำการเก็บข้อมูลในการใช้งานอยู่เป็นประจำ (เรียกว่าขาดไม่ได้) ในการทำงานอะไรก็ตามมักจะต้องมีฮาร์ดดิสเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ สำหรับบางท่านอาจจะไม่ทราบว่า Harddisk นั้นมีความสำคัญอย่างไรกับคอมพิวเตอร์ เคยเป็นไหมครับเวลาที่หน่วยความจำในฮาร์ดดิสเต็ม นั่นก็หมายถึงว่าในทุกๆวันที่ท่านใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะมีการใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสไปเรื่อยๆเมื่อถึงเวลาที่ข้อมูลนั้นเยอะมากจนพื้นที่ในฮาร์ดดิสเราไม่มีเหลือ เราก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ต้องคอยนั่งลบข้อมูลเก่าๆที่เราไม่ได้ใช้ออกเพื่อให้ได้มาซึ่งพื้นที่ที่จะสามารถทำงานต่อไปได้ แม้กระทั่งการติดตั้งโปรแกรมก็ด้วยที่กินทรัพยากรในเครื่องเราไปมากรวมถึงพื้นที่ที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสก์ก็จะน้อยลงตามโปรแกรมที่เราลงในเครื่อง 
และ...แล้ว เจ้าเทคโนโลยีฮาร์ดดิสเหล่านี้ก็ได้มีความจุที่มากขึ้นสามารถที่จะรองรับไฟล์ต่างๆได้มากทีเดียวสำหรับการใช้งานเบื้องต้นและสินค้าHarddiskที่ผลิตออกมาในช่วงปีหลังๆนี้ก็มีความจุเริ่มที่500กิ๊กกะไบต์ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานในแบบทั่วไป มากขึ้นอีกหน่อยก็จะเรียกว่า "เทราไบต์" ซึ่งก็เท่ากับ 1,000 กิกะไบต์นั่นเอง โดยที่อุปกรณ์เหล่านี้มีราคาไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับอดีตที่เคยแพงจนบุคคลใช้งานทั่วไปนั้นไม่สามารถที่จะซื้อมาใช้ได้ แต่ด้วยความจำเป็นก็ต้องกระเสือกกระสนหามาใช้ให้ได้ในราคาที่แพงอยู่
นอกจากฮาร์ดดิสที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรืออยู่ในLabtop(โน๊ตบุ๊ค)แล้วก็ยังมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจอยู่อีกประเภทซึ่งพัฒนาต่อจาก Internal Harddiskและมาแทนที่Flash Drive USB. ซึ่งนั่นก็คือ ฮาร์ดดิสก์แบบบพกพา หรือเรียกว่า "External Harddisk" คืออุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้เทียบเท่าและมากกว่าฮาร์ดดิสที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีราคาที่น่าสนใจมาก เปรียบเทียบราคาแล้วแพงกว่าแค่หลักร้อย ในสเปคเครื่องเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการจะใช้งานสื่อเพื่อบันทึกข้อมูลภายนอก ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกัน แต่แตกต่างตรงที่สามารถพกพาออกไปใช้งานที่ไหนก็ได้

ข้อดีและประโยชน์หลักๆของExternal Harddisk

  1. ข้อแรกเลยก็คือ การเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม หรือข้อมูลสำคัญในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ สามารถที่จะพกพาเพื่อนำไปทำงานที่ไหนก็ได้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ก่อนนั้นเมื่อ ขนาดความจุของแฟลชไดร์ฟ ไม่สามารถที่จะบันทึกข้อมูลงานของเราได้ทั้งหมด เราก็ต้องแบกโน๊ตบุ๊คไปด้วย 
  2. ใช้งานง่ายเพียงเสียบกับUSB บางท่านที่เคยถอดเข้า-ถอดออกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละทีนั้น คงรู้ดีว่าเป็นเรื่องที่เหนื่อยเอาการที่เดียวสำหรับท่านที่ไม่มีประสบการณ์คงท้อ และนี่ก็เป็นข้อดีของ เจ้าฮาร์ดดิสพกพา ซึ่งมีความสามารถในการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกันกับ ฮาร์ดดิสที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ การใช้งานง่ายๆเพียงแค่เสียบสายUSBเข้ากับตัวเครื่องเท่านั้นก็เริ่มใช้งานได้ทันที
  3. การทำความเร็วในการส่งข้อมูล ปัจจุบันนั้นความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ถือว่าสำคัญมากต่อการใช้ประโยชน์ทางธุรกิจหรือประโยชน์ใดๆก็ตาม จะเห็นได้ว่าช่วงหลังๆนี้ได้มีการพัฒนาในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ที่เห็นได้ชัดเลยก็น่าจะเป็นเรื่องอินเตอร์เฟซในการใช้งาน เพื่อที่จะได้คุณภาพของข้อมูลที่แม่นยำขึ้นและโอน-ถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วขึ้นนั้นเอง ซึ่งอินเตอร์เฟซที่พัฒนาแล้วในปัจจุบันก็ได้แก่ USB3.0,SATAIII และอื่นๆ
  4. พกพาสะดวก ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานอยู่กับบ้าน หรือว่าหิ้วโน้ตบุ๊คไปไหนต่อไหนให้เมื่อยอีกต่อไปแล้ว เพราะขนาดเล็กและบางกว่าโทรศัพท์มือถือบางรุ่นเสียด้วยซ้ำ
  5. ใช้งานได้หลากหลาย สามารถใช้งานได้กับเครื่องDvd Player ,Smart TV ,เครื่องเสียงรถยนต์ และอุปกรณ์ใดๆก็ตามที่สามารถรองรับUSB 
  6. อื่นๆ อีกมากมายที่สามารถประยุกใช้งานได้ อาทิเช่น เครื่องเล่นhdd player เครื่องเพลสเตชั่น3 เป็นต้น

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557


บิดาแห่งคอมพิวเตอร์

คงจะเป็นการดีที่จะกล่าวถึงที่มาหรือต้นตระกูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่า เป็นมาอย่างไร เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการมาจากนิ้วมือมนุษย์ ที่ใช้นิ้วในการนับตัวเลข ใช้ไม้ขีดเขียนบนพื้นดิน หรือใช้ลูกหินมาเรียงต่อกัน
ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นด้วยการใช้เชือกรอยต่อกัน จัดเรียงให้เป็นระบบ (คล้ายกับลูกคิด) หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการนับ ลักษณะใหญ่ที่คิดกันมักจะเป็นเครื่องยนต์ที่มีกลไก (Mechanics) ที่ประกอบด้วยฟันเฟื่อง รอกและคาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถคำนวณขั้นพื้นฐานได้ ไม่ว่าจะเป็น บวก ลบ คูณ หาร
ปี 1822 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้
ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นมา

สารสนเทศ

http://blog.eduzones.com/daow/32540